เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนไชย ได้แถลงนโยบายเพื่อการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนไชย โดยมีนโยบายที่สำคัญ ๑. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ๑.๑ ดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุงถนนเพื่อการเกษตร สายหลัก สายรอง ที่ชำรุดเสียหาย ให้มีสภาพใช้การดี และขยายช่องทางจราจร สร้างถนน คสล.ในหมู่บ้านที่เหลือ ให้ปลอดฝุ่น เพื่ออำนวยความสะดวก ในการ คมนาคมขนส่ง และสัญจรไปมา ๑.๒ ดำเนินการปรับปรุง และพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำเพื่อการ เกษตร ขุดลอกลำน้ำที่ตื้นเขิน สร้างฝายกั้นน้ำ ทำระบบแก้มลิง เพื่อกัก เก็บน้ำ สร้างสะพานคอนเวิร์ดจุดที่สำคัญ ขุดร่องระบายน้ำแบบคลองไส้ ไก่ ผันน้ำสู่พื้นที่การเกษตร จัดหารถขุดตักดิน และจัดหาเครื่องสูบน้ำ ๑.๓ ดำเนินการจัดซ่อม และสร้างระบบน้ำประปาหมู่บ้าน ขุดบ่อบาดาลหมู่บ้าน ที่ขาดแคลนน้ำ วางระบบท่อประปาใหม่ ทำประปาภูเขา สายห้วยตาด ก้อตเต่า เพื่อให้มีน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ ๑.๔ ดำเนินการสร้างรางระบายน้ำแบบตัวยู มีฝาปิด ถนนสายหลักในแต่ละ หมู่บ้านเพื่อระบายน้ำให้ไหลที่ลุ่มสะดวก ในช่วงฤดูฝนมีน้ำหลาก ๑.๔ ประสานงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการขยายไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ถนนการเกษตรสายหลัก ทุ่งลอ –แม่น้ำอิง ถนนสายบ้านป่าตึงงาม – เขตติดต่อบ้านจำไคร้ ถนนสายบ้านใหม่แม่ลอย –เขตบ้านจำไคร้ เขตตำบลแม่ลอย ๑.๕ ส่งเสริม และดำเนินการติดตั้งไฟกิ่งโซล่าเซลล์ จุดที่ ๑ จากถนนสายบ้านทุ่งต้อม หมู่ ๕ – บ้านป่ารวก หมู่ ๑ และถนน แยกไปบ้านป่าตึงงาม หมู่ ๖ บ้านทุ่งสง่า หมู่ ๙ จุดที่ ๒ จากปากทางบ้านหนองเลียบ หมู่ ๔ - ถึงบ้านใหม่แม่ลอย หมู่ 7 ตลอดถึงเพิ่มไฟกิ่งส่องสว่าง ตามถนนตรอกซอกซอยในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนในตำบล ๑.๖ ส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานกับองค์กรชุมชน เพื่อของบประมาณ ซ่อมสร้างบ้านพอเพียง ให้กับผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ในตำบล ๒. นโยบายเศรษฐกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิต ๒.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนจัดให้มีโครงการกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่าย เช่น กลุ่มพัฒนาสตรี กลุ่มยางพารา กลุ่มเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลา กบ ฯลฯ กลุ่มเลี้ยงสัตว์บก เช่น วัว ควาย ไก่ ฯลฯ กลุ่มทอผ้า กลุ่มเย็บปักถักร้อย กลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ ผักอินทรีย์ กลุ่มปุ๋ยหมัก และ ปุ๋ยชีวภาพ รวมถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุกกลุ่ม ในตำบลศรีดอนไชย อย่างครบวงจร ๒.๒ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ให้กับประชาชน ทั้งด้านการเกษตร การอุตสาหกรรมครัวเรือน ส่งเสริมการผลิตและการพัฒนา คุณภาพสินค้า ๔ พื้นเมืองให้ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ๒.๓ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มจักสานหวาย กลุ่มเย็บผ้า กลุ่มเลี้ยงสัตว์บก สัตว์น้ำ กลุ่มปลูกข้าวและพืชผักอินทรีย์ มีการแปร รูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า พร้อมหาตลาดรองรับ ๒.๔ ส่งเสริมสนับสนุนโครงการ ๑ ตำบล ๑ เกษตรทฤษฎีใหม่ การทำไร่นา สวนผสมโครงการ โคกหนอง นา ขุดสระภัยแล้งแก่เกษตรกรให้ทั่วถึง ๒.๕ สนับสนุนให้มีการสงเคราะห์ และจัดสวัสดิการ แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ อย่างทั่วถึง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ๒.๖ ส่งเสริม และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจำหน่ายผลผลิต สินค้าทางการเกษตร ให้ได้ราคาที่เป็นธรรมตาม ปริมาณ และคุณภาพสินค้า ๓. นโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๓.๑ ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ให้มีที่จัดเก็บขยะมูลฝอย เศษวัสดุเหลือใช้ ในบ้าน นอกบ้าน และชุมชนอย่างเป็นระบบ ๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ ให้กับกิจกรรมของผู้สูงอายุในตำบล รวมทั้งกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลศรีดอนไชย ๓.๓ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ เช่น ภัยหนาว อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และภัยจากโรคระบาด ไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) ๓.๔ สนับสนุนส่งเสริมด้านการกีฬา การออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง ทุกอาชีพ ทุกเพศทุกวัย จัดหาสถานที่ออก กำลังกาย พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อใช้ออกกำลังกาย ๓.๕ ดำเนินการสร้างขวัญกำลังใจ ให้กลุ่มจิตอาสาต่าง ๆ เช่น อสม. อป.พร. ชรบ. ตำรวจบ้าน ทหารกองหนุน โดยจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ให้กลุ่ม จิตอาสา ในตำบล ๓.๖ ส่งเสริมสนับสนุน การป้องกันไฟป่า และลดปัญหามลพิษ หมอกควัน โดยรณรงค์ให้เกษตรกรในตำบล หยุดเผา และให้ไถกลบตอซัง เพื่อลด ภาวะโลกร้อน ๓.๗ ร่วมกับผู้นำท้องที่ สอดส่องดูแล รณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด และลดปัญหา อาชญากรรมที่เกิด ในตำบล ๓.๘ ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยรณรงค์ให้ประชาชน ในตำบล เพิ่มพื้นที่การปลูกป่า ๓.๙ จัดหาสถานที่ทิ้งขยะ ร่วมกับผู้นำท้องที่ รพ.สต. ศรีดอนไชยและดำเนินการสร้าง ระบบการเก็บ การแยกขยะ และกำจัดขยะมูลฝอย อย่างเป็นระบบ และมี ประสิทธิภาพ ๓.๑๐ ดำเนินการ ติดตั้งกล้องวงจรปิด ตามทางแยกและจุดที่สำคัญ เพื่อป้องกัน อันตราย ในการใช้รถใช้ถนน และป้องกันความเสียหาย อันเกิดจากโจร ขโมย และอาชญากรรม ในตำบล ๔. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น ๔.๑ ส่งเสริม สนับสนุน ด้านการศึกษาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศ ทุกวัยอย่างทั่วถึง ทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน ให้สอดคล้องกับการ เข้าสู่ยุคดิจิตอล ๔.๒ ส่งเสริมสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยพัฒนาทุกด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ๔.๓ ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา และท้องถิ่นอีสาน รณรงค์ให้ประชาชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา ๔.๔ พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีศักยภาพ โดยสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน และ สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้เด็กมีพื้นฐานการเรียนที่ดี สู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้น ๔.๕ ทำนุบำรุงด้านศาสนา วัดวาอาราม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ในตำบลให้เป็นศูนย์ รวมจิตใจ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมของประชาชนในตำบล และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ๔.๖ ส่งเสริมสนับสนุนงานรัฐพิธี อนุรักษ์ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญา ท้องถิ่น ด้านภาษา การแต่งกาย การแสดงทางวัฒนธรรมไทยอีสาน – ล้านนา ให้คงอยู่กับลูกหลานเยาวชน ต่อไป ๕. นโยบายด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ๕.๑ ส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมพัฒนากิจกรรมทางสังคม การเมืองและการปกครอง ๕.๒ สร้างระบบการบริหารองค์กร เน้นหลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผลด้วยความ ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ๕.๓ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดยุทธศาสตร์การ พัฒนาร่วมจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาตำบล ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ประชาชน ๕.๔ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ ประชาชน ที่มารับบริการ ได้รับความสะดวก มีความพึงพอใจ ๕.๕ ดำเนินการสนับสนุน กิจกรรม/โครงการ ที่ดำเนินการต่อเนื่อง จากปีงบประมาณ ที่แล้ว ให้เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ๕.๖ จัดทำโครงการเร่งด่วนต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ส่วนใหญ่ในตำบล